Three Types of Compassion

When I was staying at the Khadiravana Center someone I had known before came to visit the Center and talked with me for a while. He was a student of Buddhism and used to translate a number of Tibetan Buddhist books. He had an interesting question which he told me many monks and scholars could not answer. It has to do with compassion and emptiness. Since everything is empty, that is, lacking in their inherent existence, when we have compassion, what exactly are we having the compassion for? If everything is empty, isn’t the thing for which we have compassion empty too? If it is empty, then wouldn’t our compassion be directed to an empty object, a compassion to nothing?

This is clearly a clever question, and it shows that someone who does not understand the Buddha’s teaching thoroughly could get mired in these conceptual web. Not that the Buddha himself planted these webs, but it seems that some of his followers created these webs for themselves because of their attachment and preconceptions.

In any case this question needs to be fully answered, and the answer is not an easy one. The question rests on a very fundamental tension in the Buddha’s own teaching – the tension between taking things as they appear, on the one hand, and seeing their ultimate nature as being empty through and through on the other. This tension lies at the heart of Buddhist teaching.

On the side of taking things as they appear, there certainly are beings who need compassion. They are suffering; there are innumerably many of them. They are beings in samsara. Clearly they are there as objects of the Buddha’s and bodhisattva’s and our own compassion.

On the other hand, things are empty of their inherent character. What this means is that things do not stay the same forever, and even at a moment when they are what they are, they are what they are only because of their being dependence of causes and conditions. These causes and conditions are no exception either; they depend on other causes and conditions too, and so on ad infinitum. In the end everything is what it is because of their dependent nature, which for Buddhists means that they are empty of their inherent character which would make them truly what they are without such dependency. Since this has no exception, any object of compassion, any suffering being, is ultimately empty too. So when we feel compassionate toward them, what exactly are we compassionate toward?

One way out of this is to treat things at two levels – that of ‘conventional’ truth and of ‘ultimate’ truth. This is the path Nagarjuna takes. In fact talking about levels is rather misleading, for in fact things do not present themselves in levels. They are one and the same things, but described differently. According to one way of describing, they are there as objects of reference and certainly of compassion, but according to the other description, they are empty. Since all things do not possess any essential properties from the beginning, there is no contradiction in the two descriptions.

However, there is another way of looking at this which is perhaps less philosophical. According to Deshung Rinpoche in The Three Levels of Spiritual Perception, when we practice compassion, we should do it with the realization that there are three types of compassion. We should always take into account all these three types whenever we feel compassionate toward other beings and practice compassion. The first type is the ordinary compassion we have toward other beings. The second type is the realization that these beings suffer because they are mired in avidya or fundamental ignorance. The third and most refined type is the realization that in ultimate reality there is no one to be compassionate to, no one who is being compassionate, and no such thing as compassion.

The trick is that the third type is classified as a kind of compassion. This neatly solves the problem that my friend asked me before. The tension between compassion and emptiness is only apparent and arises only if the first type is understood to be the only type. But when one takes into account the second and third types, then the tension dissolves, because the realization of emptiness is a kind of compassion too.

This needs to be unpacked. Buddhist teachers usually say that compassion and emptiness (or wisdom) are the two wings that enable a bird to fly. A bird cannot fly with only one wing, so one cannot attain Buddhahood with realization of either compassion or emptiness only. One needs both to attain Buddhahood. And a way to achieve this is suggested in Deshung Rinpoche’s teaching that the third type of compassion is just this realization of the wisdom of emptiness itself.

How is this so? It arises from the understanding that the truly genuine way for true compassion to arise in one’s mindstream is for one to achieve the wisdom of emptiness – the realization that ultimately all beings are of one nature. Furthermore, it also arises from the understanding that the only way the wisdom of emptiness to arise in one’s mindstream is for one to have genuine compassion toward other beings. When one has genuine compassion, the apparent boundary separating oneself from the world and every being breaks down, but that is just emptiness in action.

So in the end the two, compassion and emptiness, are one and the same. Thus the question I mentioned earlier arose only out of some misconception. But it is a very strong misconception. This is why the practice of compassion is so crucial in Mahayana Buddhism. Without it there will absolutely be no way toward Buddhahood.

How Do You Know Someone has Attained Nirvana?

This is a really big question, something that I think has persisted in the minds of Buddhists, both in the East and the West. The goal of the teaching is of course nirvana, and we are instructed to get teachings from those who have realized them. But how do we know? How can we tell whether those who are giving us the teachings and explanations of the Words of the Buddha have actually internalized them and made them part of their lives?

There is a story (and just as almost everything I know, this one is also from Deshung Rinpoche). A very learned monk was on his way to receive an honorary position at a temple. He was deeply read in all the sutras and could expound the teachings really well. However, he had not fully realized the teachings; that is, he had not become identical with the subject matter of what he was teaching. While he was traveling he met a poor peasant, and, out of kindness, he gave the peasant a tidbit of the Buddha’s teaching and told him always to keep it in mind and to practice it well. Then he left the peasant and continued his journey. He got to the temple which was his destination and stayed there as a respected abbot for many, many years. Meanwhile the poor peasant became deeply faithful in the teaching he got from the learned monk and became a monk himself.

Years passed. One day while he was at the temple the monk who used to be the poor peasant whom he had taught for a short while came to see him. From the look and the understandings shown through the outlook of the visiting monk, the learned abbot knew that he had really attained the Goal. He became surprised when he learned that the visiting monk was in fact the poor peasant whom he had given a short teaching while he was on the way to accept the position here. The learned monk said to himself, “I had studied all the texts. I had memorized a huge amount of the Buddha’s teachings and had taught countless number of students. Yet I had not attained the result myself. This monk who got just a short teaching from me instead had achieved it.”

So he became really subdued and asked the visiting monk for a teaching. Thus the teacher became student and vice versa. The visiting monk told him to be mindful and to practice the teaching well with no distractions. The learned abbot then followed that instruction and finally obtained Realization.

The message of the story is that it does not quite matter whom you get the teachings from. You could even get teachings from a radio or, in today’s age, from the Net, but if it is a genuine teaching and if you are persistent in practicing it, you will eventually be Realized. The point is not the actual identity of your teacher. The point is that you have unwavering faith in the teaching and in your belief that you are getting the teaching from an Enlightened One. What really matters is your mind.

So how does this story answer the topical question of this post? Maybe the story is not directly to the point. But perhaps that is the point. Sometimes we don’t really need to know that the one we are studying with is Realized or not. That would distract us from really practicing and being really mindful. It does not quite matter whether our flesh and blood teacher is Realized or not, that is in fact a matter for the teacher himself or herself to practice on his or her own. But for us students we need to look inside our own minds and practice from the insides of our hearts.

Three Levels of Spiritual Perception

I have finally finished the translation of Deshung Rinpoche’s The Three Levels of Spiritual Perception into Thai. It took me more almost two years to do it because the book had more than 500 pages and I can’t spend whole day every day to do it. In any case the translation is finished and I have only to translate the small introductory sections in front of the book plus perhaps some glossary at the end. Then the book will be finished.

The plan is to publish this one in the Thai edition. Thanks to Wisdom Publications for granting us the permission to publish the Thai translation. I am sure this will be of tremendous benefits to Thai Buddhists. It will be quite a big book, though.

What Deshung Rinpoche did was to expound the meanings of “The Three Perceptions” (gnang sum), which is one of the most famous texts in Tibetan Buddhism. These perceptions are: (1) the perception of those who are still bound within samsara; (2) perception of those already on the Mahayana path, and (3) perception of the enlightened ones. 

H. E. Deshung Rinpoche III
H. E. Deshung Rinpoche III

Those who are still mired in samsara perceive things as they appear, and they take them to be real. This is the predicament of all of us, who are not out of samsara yet. This is the reason why we are still inflicted with suffering. In this sense we are like those people who willingly, unknowingly, take a hat full of spinning knives on our head, thinking that it is so beautiful. Or we are like moths who think that the flame is so seductively beautiful, and we fly into it, getting burned as a result. We suffer, but we think this is the normal condition of everybody. It is due to the Buddha’s infinite compassion toward beings that he pointed this out to us so that we realize how foolish we have been for so long.

The goal of the first level of perception is to get us to realize the suffering nature of all of samsara. We need to realize that the flame is hot and that we must not fly into it. Or that the house is burning and we have to hurry out of it. This is realized through full understanding of such issues as the extreme rarity of human birth, impermanence and pervasiveness of death, and the law of karma. 

Then the second kind of perception is called “perception of experience.” This refers to the experience of dharma practitioners who have internalized the awareness of the suffering nature of samsara and is taking the practice to find a way out. However, we also realize that it is quite inappropriate to become released from samsara only individually. Since every sentient being is interconnected and since we already owe a great deal to them, each of whom in fact used to be our caring mother, then we feel a sense of obligation to them. Hence we can’t leave them alone to continue to suffer in the ocean of samsara. Realizing this, we do whatever we can to be able finally to help them. This is the Mahayana Path, which distinguishses it from the solitary path of getting only oneself liberated. 

Topics within this level of perception are, then, generation of bodhicitta, the genuine resolve and commitment to be able to help all sentient beings out of the sea of samsara through becoming an enlightened Buddha. There are two kinds of bodhicitta. One is relative, or conventional, bodhicitta, where one feels strong compassion toward all beings, identifying with them and sharing in their sufferings, committing oneself to take up their sufferings to the full. The other is ultimate bodhicitta, which is the realization that everything is empty of their inherent nature. One generates conventional bodhicitta through cultivation of great love (maitri) and great compassion (karuna), and generates ultimate bodhicitta through the two practices of calm abiding (shamatha) and insight (vipasyana). The goal of this level is to develop fully both conventional and ultimate bodhicittas.

Then the third and final level of spiritual perception is the pure perception of the enlightened ones. This is comparable to that of those who have finally achieved the ultimate goal. The Buddha’s perception is completely pure. He perceives things exactly as they are and is totally omniscient.

I will give a talk in Thai about the book and about the three levels of spiritual perception in Buddhism at the Thousand Stars Foundation House, 695 Ladprao 11, Jatujak, Bangkok. Please click this link for more information.

ปรมัตถธรรม

อาตมาอยากจะพูดต่อเกี่ยวกับธรรมชาติของปรมัตถธรรมตามที่ได้มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น ใน พระปีตปุตรสมาคมสูตร พระพุทธเจ้าตรัสแก่เหล่าพุทธบุตรผู้เป็นพระโพธิสัตว์ว่า ในความจริงระดับปรมัตถ์นั้นไม่มีสภาวะธรรมใดๆให้รับรู้เลย ด้วยเหตุนี้ ในปรมัตถธรรมจึงไม่มีการใช้คำพูดปรุงแต่งใดๆ ทีนี้เมื่อมาตมาพูดกว่า “ใช้คำพูดปรุงแต่ง” ก็หมายความว่าเป็นธรรมชาติของจิตเองที่จะบอกว่าสิ่งต่างๆเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ราวกับเอาป้ายไปแปะไว้กับสิ่งต่างๆ ในช่วงขณะแรกจิตมีผัสสะกับสิ่งต่างๆที่เข้ามากระทบโดยทันที ในช่วงขณะที่สองจิตก็ทำงานแล้วกล่าวว่า “ฉันเคยเห็นนี่มาก่อน นี่เรียกว่าอย่างนั้นอย่างนี้” จากจุดนี้เราก็ทำตัวเช่นเดียวกับที่เคยทำมาตลอด นี่เป็นหนทางที่จิตทำงานตามธรรมดาๆ

แต่หนทางนี้ไม่ใช่แนวทางในปรมัตถธรรม เนื่องจากไม่มีอะไรที่จะไปจับยึดได้ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ดังที่พระอาจารย์สาเกียบัณฑิตได้กล่าวไว้ ไม่มีอะไรที่จะชี้ไปได้ว่าอยู่ตรงนั้น ไม่มีอะไรให้จับยึดปรุงแต่งเป็นนั่นเป็นนี่ ไม่มีอะไรที่จะบอกได้ว่ามีอยู่จริง ดังนั้นจึงไม่มีอะไรที่จะบอกได้ว่าเป็นอะไรในระดับของปรมัตถธรรม ไม่มีธรรมชาติของปรมัตถธรรม ไม่มีสภาวธรรม ไม่มีสิ่งต่างๆ ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่ว่าจะเป็นอะไร ต่างก็เป็นเพียงชื่อเรียกเท่านั้นเอง เรากำลังตกอยู่ภายใต้ความคิดปรุงแต่งหากที่บอกเราว่า “ใช่แล้ว นั่นเป็นสิ่งๆหนึ่ง” “นั่นเรียกว่าอย่างนั้นอย่างนี้” หรือ “ทุกๆคนต่างก็เห็นตรงกันกับเรา” เราพูดเกี่ยวกับมัน เราเขียนหนังสือเป็นเล่มๆเกี่ยวกับมัน แล้วก็ไปอย่างนี้เรื่อยๆ ทั้งหมดนี้เรียกว่า “การปรุงแต่ง” หรือ “สังสาระ” (ในสายสาเกียคำเทคนิคที่ใช้เรียกปรมัตถธรรมนี้อาจแปลได้ว่า “การเป็นอิสระจากการปรุงแต่ง” หรือ “ความง่ายอย่างที่สุด”) การปรุงแต่งหมายถึงการไปวุ่นวายกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จุดเริ่มของเราอยู่ที่เราไปคิดว่าเรามีอยู่จริงๆ และของก็มีอยู่จริง จากนั้นเราก็สร้างสังสาระขึ้นมา

ดังนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างนอกจากสภาวะอันเป็นปรมัตถ์ของสิ่งต่างๆอันเป็นตามที่มันเป็น จึงเป็นเพียงชื่อเรียก คำพูด แบบแผน พูดเพ้อเจ้อไปมา ทั้งหมดนี้เป็นเพียงป้ายที่เราเอาไปแปะไว้ ไม่มีอะไรมากกว่านี้ แต่่ในความเป็นจริงแท้นั้นทุกสิ่งทุกอย่างมิได้ถูกรับรู้ด้วยอายตนะ ทั้งหมดนี้เป็นพระพุทธพจน์ ใน พระโพธิสัตตวปิฏกสูตร มีกล่าวว่า “เมื่อบุคคลมิได้จับยึดธรรม และมิได้ละวางธรรม บุคคลนั้นมิได้ดำรงอยู่ในธรรม” [หมายถึงว่าบุคคลผู้นั้นไม่ได้มีความปรุงแต่งใดๆเลยเกี่ยวกับสภาวธรรมต่างๆ] นั่นคือเราไม่ได้ข้องแวะหรือติดอยู่กับสิ่งต่างๆ และก็มิได้อาศัยอยู่ในสิ่งเหล่านั้น

ตัวอย่างเช่น เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ เรารู้สึกว่าพระพุทธภาวะหรือการเป็นพระพุทธเจ้านั้น จะได้มาได้ก็ต่อเมื่อเราต้องพากเพียรปฏิบัติอย่างหนัก นี่เป็นอะไรที่มีความหมายถูกต้องมากจากมุมมองของผู้ที่ยังปฏิบัติอยู่ จนกระทั่งบรรลุเป้าหมายคือพระพุทธภาวะนั้น แต่เมื่อถึงเป้าหมายนั้นแล้ว ก็ไม่มีอะไรเลยที่จะบรรลุ ใครกันที่จะมาบรรลุ? ไม่มีใครที่บรรลุ ไม่มีอะไรให้บรรลุ และก็ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าพระพุทธภาวะว่าเป็นอะไรที่บรรลุได้ เราไม่ได้มองตัวเราว่ามีอยู่แบบเดียวกับที่เราเคยคิดมาว่าเรามีอยู่ ฯลฯ

— จาก การเห็นทางธรรมสามระดับ ของเตชุงริมโปเช

ฝันเห็นเสือ

เราต้องเข้าใจก่อนว่าสรรพสิ่งทั้งมวลเป็นเพียงภาพฉายของจิต เมื่อเราตรวจสอบลงไป เราก็จะพบว่าสรรพสิ่งที่ดูเหมือนว่าอยู่ภายนอกและเป็นจริง ล้วนแล้วแต่เป็นเหมือนกับความฝัน เป็นเพียงภาพฉายของจิตและไม่เป็นจริงในตัวเอง จากนั้นเราก็ก้าวต่อไปยังขั้นตอนของการตรวจสอบธรรมชาติของจิตนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ขั้นตอนแรกนี้จึงได้ชื่อว่า “การรับรู้ว่าสิ่งต่างๆเป็นเพียงจิต” (snang ba sems su grub pa “snang ba” แปลว่า “ภาพ” “สิ่งปรากฏ” ส่วน “sems” แปลว่า “จิต”)

สำหรับเราแล้วการทำความเข้าใจความคิดนี้ด้วยตัวอย่างอาจจะง่ายขึ้น เมื่อพระอาจารย์ชาวอินเดียอตีศะเดินทางไปยังทิเบตเพื่อสอนธรรมะ ท่านก็ใคร่ครวญว่าจะสอนธรรมะให้แก่ชาวทิเบตอย่างไรดี เนื่องจากชาวทิเบตไม่คุ้นเคยกับคัมภีร์ทางธรรมของอินเดีย ท่านอยากจะสอนคำสอนเรื่องจิตรมาตรหรือคำสอนที่บอกว่ามีแต่จิตเท่านั้น ท่านจึงไต่ถามว่าชาวทิเบตรู้จักนักเล่นมายากลบ้างหรือไม่ และก็ได้คำตอบว่าไม่รู้จัก

ในประเทศอินเดียนั้นมีนักเล่นมายากลที่พบเห็นได้ทั่วไป เดินทางจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง เพื่อแสดงมายากลต่างๆ พระอาจารย์ในพระพุทธศาสนาในอินเดียต่างก็ใช้ตัวอย่างของนักเล่นมายากลนี้ เนื่องจากชาวพุทธมักอ้างตัวอย่างที่พบเห็นได้ทั่วไปในแต่ละท้องที่มาสนับสนุนประเด็นที่ต้องการจะสอน การสอนธรรมะให้แก่ชาวบ้านในอินเดียว่าสิ่งต่างๆล้วนแล้วแต่เป็นของว่าง และภาพปรากฏของสิ่งเหล่านี้ไม่มีความจริงในตัวเอง พระอาจารย์มักจะอ้างการเล่นกลของนักมายากลเหล่านี้ เพื่อแสดงว่าสรรพสิ่งล้วนแต่เหมือนกับมายากล เมื่อนักเล่นมายากลแสดงให้เราเห็นว่าเกิดมีมายาที่เราเห็นเป็นจริงเป็นจังอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันมิได้เป็นเช่นนั้น เช่นมายากลที่แสดงว่ามีผู้หญิงที่ถูกเลื่อยออกเป็นสองท่อน ฯลฯ ภาพที่เราเห็นไม่ใช่ความจริง แต่เป็นเพียงการเข้าใจผิดของจิตที่ทำให้เราคิดไปว่ามันเป็นจริง ชาวอินเดียก็จะสามารถเข้าใจประเด็นนี้ได้โดยง่ายโดยเปรียบกับตัวอย่างเช่นนี้

ดังนั้นเมื่อพระอาจารย์อตีศะรู้ว่าชาวทิเบตไม่มีนักมายากลที่ท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆ ก็ถามว่าชาวทิเบตรู้จักฝันหรือเปล่า เมื่อท่านทราบว่าชาวทิเบตก็ฝันเหมือนกัน ท่านก็ตกลงจะเปรียบเทียบกับความฝัน ทุกคนที่เคยฝันจะเข้าใจว่าในขณะที่ฝันอยู่นั้น เรารู้ตัวอยู่ว่ามีสิ่งต่างๆอยู่มากมายที่ดูราวกับเป็นจริง ความดูเหมือนจริงนี้มีมากจนกระทั่งว่าเรามีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยอารมณ์ต่างๆราวกับว่ามันเป็นจริงจริงๆ ราวกับว่าภาพที่เราเห็นในความฝันนั้นดำรงอยู่ภายนอกตัวเรา และดูราวกับว่าตัวเรานั้นขึ้นอยู่กับภาพในฝันที่เราเห็นอยู่นั้นเอง เช่นเราฝันเห็นเสือวิ่งมาหาเรา เราก็ตอบสนองด้วยความกลัวและความปรารถนาจะหนี แต่เมื่อเราตื่นขึ้น เราก็รู้ว่าเพียงแค่ฝันไป และเสือนั้นก็ไม่เคยมีอยู่จริง เสือนั้นเป็นเพียงภาพฉายของจิตในฝันเท่านั้น ปฏิกิริยาของเราต่อภาพในความฝันนั้นเป็นความผิดพลาด จิตไม่ได้รับรู้ว่าจริงๆแล้วเป็นเพียงแค่ความฝัน คือเป็นเพียงภาพของเสือที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาเองในความฝัน

ผู้ที่ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานจะต้องเรียนรู้ที่จะมองสรรพสิ่งทั้งมวลในขณะที่ตื่นอยู่ ว่าเป็นเหมือนกับภาพฉายของจิตที่เห็นในความฝัน แม้ว่าภาพปรากฏในขณะที่ตื่นอยู่จะดูเป็นจริงเป็นจังในสายตาของผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติสมาธิ หรือผู้ที่ยังไม่ตรัสรู้ แต่ในสายตาของผู้ปฏิบัติสมาธิแล้วทั้งหมดไม่ต่างอะไรจากภาพในฝัน ผู้ปฏิบัติธรรมจะรับรู้ภาพเหล่านี้ว่าเป็นเพียงการที่จิตแสดงตัวออกมาแล้วก็เข้าไปยังขั้นตอนต่อไป ดังนั้นเราจึงรับรู้จิตว่าเป็นต้นกำเนิดของประสบการณ์ของทุกสิ่งทุกอย่างในขณะที่รู้สำนึก แล้วก็เข้าใจความสำคัญของการรับรู้ธรรมชาติที่แท้จริงของจิต

(จาก “การเห็นทางธรรมสามระดับ” ของเตชุง ริมโปเช)

ขั้นตอนสามขั้นของการปฏิบัติ

เพื่อให้งานหนึ่งๆมีความหมายขึ้นมา งานนั้นต้องก่อให้เกิดผลที่ต้องการ เรื่องนี้ก็เป็นจริงแก่ความพยายามของผู้ปฏิบัติธรรมมหายานต้องกระทำ ในอันที่จะบรรลุถึงเป้าหมายทางธรรมของตนเองด้วย ความเพียรของเราเองในการแสวงหาคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่องบ่นมนตรา ทำสมาธิ และฝึกฝนตนเองในหนทางอันเป็นกุศลต่างๆ จะมีความหมายขึ้นมาก็ต่อเมื่อทำไปโดยมีสติกำกับ ในที่นี้สติจะโยงไปถึงการรับรู้ขั้นตอนสามประการของกรรมอันเป็นกุศลทั้งหลาย ได้แก่ (1) การเตรียมจิตใจก่อนการปฏิบัติ (2) การปฏิบัติ และ (3) การจบการปฏิบัตินั้น
ในเบื้องแรก การมีสติอยู่กับการเตรียมจิตใจประกอบด้วยการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการศึกษา หมายความว่าเราปรารถนาจะเล่าเรียนไม่ใช่เพราะอยากรู้อยากเห็นเฉยๆ หรือว่าไม่มีอะไรอย่างอื่นจะทำ แต่เพราะว่าเราตั้งใจจริงที่จะรับเอาคำสอนเข้าสู่จิตใจ เพื่อให้ตัวเราเองและสัตว์โลกเข้าถึงการตรัสรู้ สิ่งนี้เรียกว่าโพธิจิต มุมมองของมหายานได้แก่ว่า การเตรียมจิตใจก่อนการทำอะไรก็ตาม จะต้องประกอบด้วยการปลุกปณิธานอันถูกต้อง เพื่อให้เราสามารถยังประโยชน์ให้แก่สรรพสัตว์ด้วยการกระทำนั้นๆของเราเอง ลำพังเพียงแค่กรรมดีเฉยๆ แม้อาจจะเป็นของดี แต่ก็อาจจะไม่มีผลใดๆบนเส้นทางของมหายาน อันที่จริงกรรมเหล่านั้นส่วนมากไม่มีผลดังที่ว่า เนื่องจากมิได้มุ่งไปสู่การบรรลุพระพุทธภาวะ ดังนั้น ขั้นแรกของการกระทำการใดๆก็ตาม ก็คือการพัฒนาและรักษาทัศนคติอันถูกต้องนี้ไว้
ประการที่สอง เราควรจะทำการเหล่านี้ด้วยความตั้งใจมั่นและแน่วแน่ โดยไม่ให้จิตต้องซัดส่ายไปที่อื่นๆ ทั้งนี้ไม่ว่าเราจะทำการใด เช่นนั่งทำสมาธิ ศึกษาเล่าเรียนพระธรรม อ่านหนังสือ ฟังครูบาอาจารย์สอน ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก หรือปกป้องชีวิตของผู้ที่ได้รับอันตราย ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาเล่าเรียน เราควรพุ่งความสนใจไปที่ความเพียรที่เรากำลังทำอยู่ แทนที่จะปล่อยให้จิตของเราล่องลอยไปตามที่ต่างๆ ไม่ว่าเราจะจริงใจกับการทำความเพียรชอบของเราเพียงใด เราก็ต้องจำไว้ด้วยว่าจะไม่ตกลงไปสู่กับดักอันของการยึดมั่นถือมั่นกับความเพียรของตนเอง ซึ่งกับดักนี้ได้แก่การคิดว่า “เรานี้มีตัวอยู่จริง นี่คือกุศลกรรมของเรา และผลของกรรมดีของเราเป็นบุญของเรา” เราต้องสำนึกอยู่เสมอว่า แม้ในระดับสมมติการกระทำเหล่านี้มีอยู่จริงๆ แต่ในระดับปรมัตถธรรมแล้ว ไม่เป็นจริง ขอให้เราเข้าใจว่าสถานการณ์นี้มีมากกว่าที่ตาเราเห็น และสิ่งที่ปรากฏแก่ตาเสมือนหนึ่งว่าเป็นของจริงในระดับสมมติ จะต้องไม่เข้าใจไปว่าเป็นจริงเช่นนั้นจริงๆ
อย่างน้อยที่สุด เราก็อาจจะประมาณทัศนคติอันถูกต้องในการปฏิบัติสมาธิหรือในการเล่าเรียน ด้วยการรำลึกนึกถึงสิ่งต่างๆที่ไม่ได้เป็นเช่นที่ปรากฏ นึกถึงว่าสิ่งเหล่านี้มิได้เป็นจริงอย่างที่เรามักจะคิดว่าเป็นเช่นนั้น และคิดอีกว่าในท้ายที่สุดแล้ว มิได้มีผู้รู้และก็มิได้มีสิ่งที่ถูกรู้ แม้ในระดับสมมติ ก็ขอให้คิดถึงสิ่งต่างๆว่าเป็นเพียงภาพมายาหรือเป็นความฝัน การฝึกหัดเล็กๆน้อยๆนี้มุ่งที่จะทำให้จิตของเราไม่ยึดมั่นถือมั่นกับการปฏิบัติธรรมของเรามากจนเกินไป
ประการที่สาม หลังจากที่ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานหรือศึกษาเล่าเรียน หรือประกอบกุศลกรรมจบแล้ว ก็จำไว้ว่าให้เราอุทิศบุญกุศลและสิ่งดีงามที่ได้เกิดขึ้น ให้แก่การตรัสรู้ของเราเองและของสัตว์โลกทั้งมวล ด้วยการทำเช่นนี้ การกระทำของเราก็จะจบลงในทางที่ดีที่สุด เนื่องจากผลดีของการกระทำของเราจะถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นด้วยการมีสติ และด้วยการแบ่งปันผลดีนั้นให้แก่สรรพสัตว์ หากเราทำทั้งสามขั้นตอนเช่นนี้ในการทำการใดๆทั้งปวง เราก็จะมั่นใจได้ว่าเราจะได้รับการปรับให้เข้ากับกระแสหรือเส้นทางของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย และการนั้นก็จะทำไปด้วยความสามารถอันสูงสุดของเรา

(จาก การเห็นทางธรรมสามระดับ ของเตชุง ริมโปเช)

“ลูกสาวที่รัก” เตะแม่ของตน

มีนิทานชาดกเรื่องหนึ่งในหนังสือของเตชุง ริมโปเชที่น่าสนใจมาก ก็เลยนำมาเล่าให้กันฟังในนี้ 🙂

อาตมาจะเล่าเรื่องของพระโพธิสัตว์ผู้มีนามว่า “ลูกสาวที่รัก” เพื่อเป็นตัวอย่าง พระโพธิสัตว์องค์นี้ได้ชื่อมาจากพ่อแม่ของท่าน ซึ่งเชื่อว่าการเอาชื่อผู้หญิงมาตั้งให้ลูกชายของตน จะเป็นเคล็ดให้ลูกชายมีอายุยืนยาว แม้ว่าท่านจะถือกำเนิดเป็นผู้ชาย และมีสุขภาพแข็งแรงดี แต่บิดามารดาของท่านก็คิดว่าชีวิตของท่านอาจจะสั้น ด้วยเหตุนี้เลยตั้งชื่อให้เป็นเด็กผู้หญิง
ลูกสาวที่รักเป็นบุตรชายของคฤหบดีผู้มั่งคั่งและยึดมั่นในธรรมชาวอินเดีย บิดาของท่านทำการค้าขายเพชรพลอยและต้องออกเรือเดินทางไปยังดินแดนสุวรรณภูมิเพื่อไปซื้อไข่มุกและเพชรนิลจินดาอื่นๆ แต่เมื่อลูกสาวที่รักยังเป็นเด็กทารกอยู่ บิดาของท่านก็จมน้ำตายไปเนื่องจากเรือล่ม มารดาของพระโพธิสัตว์ได้เลี้ยงดูท่านมา และเกรงว่าจะเสียท่านไปในทะเลด้วยอีกคน ดังนั้นแม้ว่าตามธรรมเนียมของอินเดียสมัยก่อน ลูกชายจะต้องประกอบอาชีพเดียวกับบิดา แต่มารดาของท่านก็มิได้บอกแก่ท่านว่าบิดาของตนประกอบอาชีพอะไร
เมื่อเด็กคนนี้เติบโตมาเป็นวัยรุ่น ก็เริ่มรบเร้ามารดาถามว่าบิดาของตนประกอบอาชีพอะไรเพื่อให้ตนเองได้เป็นผู้นำครอบครัวและหาเลี้ยงมารดา แต่เมื่อพระโพธิสัตว์ถามเกี่ยวกับอาชีพของบิดา มารดาของท่านก็ตอบว่าบิดาของท่านเป็นพ่อค้าขายข้าว ดังนั้นพระโพธิสัตว์จึงได้ประกอบอาชีพขาวข้าว กำไรใดๆที่จากการทำธุรกิจพระโพธิสัตว์ก็มอบให้แก่มารดาจนหมดสิ้น หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีคนรู้จักบางคนมาบอกท่านว่า บิดาของไม่อาจเป็นพ่อค้าข้าวได้ พระโพธิสัตว์จึงมาถามแม่ แม่ก็ตอบไปว่าจริงๆแล้วบิดาของท่านเป็นพ่อค้าขายผ้า พระโพธิสัตว์ก็ยึดอาชีขายผ้า และก็นำกำไรทั้งหมดมามอบให้แม่อีกเช่นเคย จากนั้นก็มีคนมาบอกพระโพธิสัตว์ว่า บิดาของตนไม่ใช่พ่อค้าผ้า พระโพธิสัตว์ก็มาถามแม่อีกเช่นเคย ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่าบิดามีอาชีพเป็นพ่อค้าขายเพชรพลอย จากนั้นพระโพธิสัตว์ก็ยึดอาชีพนี้และก็ให้กำไรแก่มารดาเหมือนเดิม หลังจากนั้นไม่นานก็มีคนมาบอกแก่พระโพธิสัตว์ว่า แท้จริงแล้วบิดาของท่านเป็นกัปตันเรือเดินทางออกทะเลไปเพื่อไปรับซื้อเพชรพลอย ลูกสาวที่รักผู้เป็นพระโพธิสัตว์จึงดีใจเป็นอย่างยิ่ง และกลับมาบอกเรื่องนี้แก่แม่ของตน แม่ของพระโพธิสัตว์ยอมรับว่าที่ผ่านมาได้ปิดบังความจริงข้อนี้ไว้ไม่ให้บุตรของตนรับรู้ เนื่องจากกลัวว่าจะสูญเสียบุตรชายของตนไปอีกคน
ทันทีที่ลูกสาวที่รักรู้ว่าอาชีพที่แท้จริงของบิดาของตนคืออะไร ก็ไม่มีอะไรมาหยุดยั้งท่านได้ ท่านตระเตรียมการกับเพื่อนๆเพื่อออกเดินเรือในทันที ค่ำวันหนึ่งพระโพธิสัตว์บอกแก่มารดาว่ากำลังจะออกเดินเรือในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น มารดาของท่านก็อ้อนวอนขอว่าอย่าไป และเล่าเรื่องของบิดาของพระโพธิสัตว์ให้ฟังว่าได้เรือล่มและเสียชีวิตไปอย่างไร อย่างไรก็ตาม พระโพธิสัตว์ไม่ฟังมารดาของตน ดังนั้นมารดาจึงได้นอนขวางประตูเอาไว้ เพื่อที่จะได้อ้อนวอนบุตรชายของนางอีกครั้งหนึ่งในตอนเช้า อย่างไรก็ตาม พระโพธิสัตว์ได้แอบหนีออกจากบ้านในตอนดึกและก็ได้เดินข้ามร่างของแม่ไป เมื่อพระโพธิสัตว์ก้าวข้ามร่างของแม่ไปนั้น ก็บังเอิญเท้าของท่านไปเตะถูกศีรษะของแม่เข้า เมื่อพระโพธิสัตว์ออกเดินเรือไปแล้ว ก็ได้เพชรพลอยมามากมาย แต่ระหว่างทางกลับบ้านมีพายุเกิดขึ้น และทุกคนบนเรือเสียชีวิต
ลูกสาวที่รักพบว่าตนเองกำลังลอยคออยู่บนทะเลลึก ท่านลอยอยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่งมาถึงเกาะแห่งหนึ่งซึ่งสวยงามมาก มีหญิงสาวสวยจำนวนมากคอยเชื้่อเชิญให้ท่านพำนักอยู่บนเกาะต่อไป ซึ่งท่านก็ทำเช่นนั้น ท่านมีความสุขกับการเยือนเกาะนี้มาก ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งอันน่าพึงพอใจต่างๆ แต่หลังจากนั้นก็มีเสียงดังมาจากบนฟ้าว่า “จงไปยังทิศใต้” แม้ว่าหญิงสาวเหล่านี้จะเตือนท่านว่าทิศใต้มีภัยอันตรายอย่างไรก็ตาม ท่านก็เดินทางไปยังทิศใต้ และได้พกับเกาะอีกแห่งหนึ่งใหญ่กว่าเกาะแรก มีคฤหาสน์งดงามและมีหญิงสาวสวยจำนวนมาก ท่านพำนักและเป็นผู้ปกครองอยู่ที่นั่นเป็นเวลานาน แต่หลังจากนั้นก็มีเสียงดังมาจากบนฟ้าอีกว่าให้ท่านเดินทางไปทางทิศใต้ต่อไปอีก
ในตอนนี้ลูกสาวที่รักเดินทางมาถึงเกาะหน้าตาแปลกประหลาดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีเรือนทำด้วยเหล็กตั้งอยู่ เมื่อท่านเข้าไปข้างในก็มองเห็นชายคนหนึ่งซึ่งสมองของท่านกำลังถูกบดขยี้ด้วยเครื่องจักรเหล็กที่หมุนอย่างรวดเร็วบนหัวของเขา ชายคนนี้เห็นได้ชัดว่ามีความเจ็บปวดทรมานเป็นอย่างยิ่ง เมื่อลูกสาวที่รักถามชาวคนนี้ว่าทั้งหมดนี้หมายความว่าอย่างไร ชายคนนั้นก็ตอบว่าเป็นผลของกรรมที่ครั้งหนึ่งได้เคยเตะแม่ของตนที่ศีรษะ ในขณะนั้นเองพระโพธิสัตว์ก็จำได้ว่าตนเองก็ได้เคยเตะแม่ของตนเองโดยไม่ตั้งใจเข้าที่ศีรษะเหมือนกัน ท่านกังวลเป็นอันมากว่าจะเกิดอะไรขึ้นแก่ท่าน และก็เริ่มมองเห็นสิ่งต่างๆ
สิ่งดีๆที่เกิดแก่พระโพธิสัตว์บนเกาะสองแห่งนั้น เป็นผลกรรมจากการที่ท่านทำดีให้แก่แม่ด้วยการมอบกำไรจากการค้าขายให้แก่ท่าน แต่ในท้ายที่สุดอกุศลกรรมก็ตามมาถึงตัวท่าน ท่านไม่เชื่อฟังคำอ้อนวอนของมารดาและยังปฏิบัติต่อมารดาในทางที่ไม่สมควร กรรมนี้ทำให้ท่านต้องมาอยู่ในสถานที่เช่นนี้ เมื่อท่านเริ่มรู้สึกเป็นกังวล ก็มีเสียงดังมาจากท้องฟ้าว่า “บัดนี้ถึงตาของเจ้าแล้ว” ทันใดนั้นกงจักรเหล็กที่ปั่นอยู่บนหัวของชายคนนั้น ก็ลอยออกมาปั่นบนหัวของพระโพธิสัตว์แทน และท่านก็เจ็บปวดทรมานยิ่งนัก ศีรษะของท่านถูกบดขยี้และแยกออกเป็นเสี่ยงๆ ไม่มีการจบสิ้นมีแต่จะแย่ลง
เนื่องจากไม่มีทางหลีกเลี่ยงหรือหลบหนี เลยเกิดความคิดหนึ่งในใจของพระโพธิสัตวว่า “ไหนๆเรื่องนี้ก็เกิดแก่เราแล้ว เราไม่อาจหนีออกจากความทุกข์นี้ไปได้ แต่อาจจะมีผู้อื่นที่เป็นแบบเดียวกับเรากับของชายคนนี้ ที่ได้ปฏิบัติต่อแม่ในทางที่ไม่ดี เนื่องจากเราเองต้องทนทุกข์อยู่อย่างนี้ ก็ขอให้ความเจ็บปวดทั้งหมดมาอยู่ที่ตัวข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว และขอให้สัตว์โลกอื่นๆจงอย่าได้ประสบกับความเจ็บปวดเช่นนี้เลย” ทันทีที่พระโพธิสัตว์ตั้งจิตปรารถนาเช่นนี้ กงจักรก็หยุดหมุน และท่านก็ได้ไปเกิดใหม่เป็นเทวบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต ซึ่งท่านก็ได้เป็นพระโพธิสัตว์ผู้ยิ่งใหญ่

Three Stages of Compassion

In the practice of generating compassion toward sentient beings, Deshung Rinpoche teaches that we need to distinguish among three kinds of compassion. in fact they all go with one another and to focus on only one or two would not be complete.

The context is meditation on the need for compassion and on how to generate compassion. This is the beginning and end point of Mahayana Buddhism and in fact all Buddhism, because without compassion it becomes very difficult to go any further on the path of a practitioner.

As is perhaps well known, compassion, or karuna in Sanskrit, is the desire to rid sentient beings of their sufferings. We feel compassion when, for example, we perceive a suffering being and feel the same pain as it does and wishes to help free it from the suffering. If we can do it, certainly we will do it, such as when we see an insect being drowned or other situations. However, the most effective way of all is to generate a thought, a sincere wish out of the bottom of your heart, so that not only some beings here and there, but ALL beings there are in the six realms, be free from suffering. This is the beginning of the meditation on compassion.

Now we are entering into the three kinds of compassion mentioned earlier. The first kind is the compassion that naturally arises when you perceive the beings who suffer. There are so many beings around; the text says that they fill the entire space, and all of them do suffer. Now no one wants to suffer; everyone, every sentient being wants to be happy. We also want to be happy and don’t want to suffer. We keep on thinking of these beings and feeling the same feeling that they are having. We recognize their sufferings.

Now the second stage of compassion occurs when we realize that the reason why these beings do suffer is their illusory belief that there exists a self. Each being suffers because of this erroneous belief. It is the root cause of all sufferings in samsara. We survey all the suffering beings, and all of them do suffer because of this belief. How good it would be then for these beings to be free from the shackle of this belief!

So we contemplate during this stage on the root cause of suffering, which is the illusory belief that there is an existing, enduring self, and keep on doing this until this stage of compassion becomes our nature to the very bones. Now we enter the third stage of compassion, which Deshung Rinpoche calls “objectless compassion.” This is the awareness and understanding that in the ultimate reality there are no beings, no suffering, no meditator, nothing to be compassionate to. Beings do not realize this, instead they think that things have their inherent characteristics and their independent beings; that is why they continue to suffer in samsara. We meditate on this too.

Among all the practices in Buddhism, meditation on compassion is among the most powerful. This is a sure path toward true realization of non-self and emptiness. Emptiness and compassion do go with each other and cannot miss each other. You have genuine compassion when you realize emptiness, and you do appreciate and realize emptiness when you have the three stages of compassion described here.

ความกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย

เราจะกล่าวถึงคำสอนที่จะช่วยปลูกฝังความกรุณาทั้งสามประเภทนี้โดยเริ่มจากประเภทแรกก่อน การปลุกความกรุณาต่อสัตว์โลกทั้งปวงประกอบด้วยการสร้างความปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงพ้นจากความทุกข์โดยไม่มีข้อยกเว้น
ท่านจันทรกีรติกล่าวไว้ว่า มหากรุณานั้นโดยเนื้อแท้แล้วเป็นท่าทีที่เราปกป้องคุ้มครองสัตว์โลกที่กำลังทนทุกข์ วิธีที่เราปฏิบัติก็เป็นเช่นเดียวกับการปฏิบัติมหาไมตรี คือเริ่มจากแม่ของเราเองก่อน เราทำสมาธินึกถึงแม่ของเราเป็นอารมณ์ของสมาธิ ขอให้เรานึกถึงพระคุณที่ท่านมีแก่เรา และคิดคำนึงว่าท่านได้เคยเป็นแม่ผู้มีพระคุณแก่เรามาหลายภพหลายชาติแล้ว จากนั้นก็ภาวนาเช่นนี้

แทนที่แม่ของเราจะแสวงหาความหลุดพ้นให้แก่ตัวท่านเองเพื่อประโยชน์ของท่านเอง แต่ท่านกลับใช้เวลามากมายในชีวิตของท่านในชาตินี้ และในชาติก่อนๆ เพื่อดูแลเลี้ยงดูเราแทนที่จะดูแลตัวของท่านเอง ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏมาเป็นระยะเวลายาวนาน ด้วยความห่วงใยในสวัสดิภาพของเรา และด้วยความที่ท่านไม่ห่วงอะไรแก่ตัวท่านเองเลย ท่านได้สั่งสมเหตุต่างๆที่มีแต่จะทำให้ท่านต้องอยู่ในสังสารวัฏต่อไป ท่านอาจจะต้องทนทุกข์กับความทุกข์ยากความเจ็บปวดมากมายทั้งๆที่ท่านมิได้ประสงค์เช่นนั้น

จากนั้นก็เตือนตัวเราเองว่าเรามีหน้าที่รับผิดชอบที่จะต้องตอบแทนพระคุณของแม่ ในการทำเช่นนี้ เราจะเริ่มเข้าใจว่ามีน้อยมากๆที่เราทำได้ให้แก่ท่าน ที่จะเป็นการช่วยเหลือท่านอย่างแท้จริง ไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะเทียบเท่ากับความกรุณาที่ท่านมีแก่เรา นอกเสียจากการถอนความทุกข์และเหตุแห่งความทุกข์ให้หมดสิ้นไปจากท่าน การปลอบประโลมท่านในยามชราหรือการให้เงินทองแก่ท่านไม่เป็นการเพียงพอ รวมทั้งการพูดจาอ่อนหวานหรือคิดดีๆถึงท่านก็ไม่เพียงพอ ตราบเท่าที่ท่านยังต้องทนทุกข์อยู่ในสังสารวัฏ เรายังมิได้หลุดพ้นจากหน้าที่ความรับผิดชอบที่เราต้องทดแทนพระคุณของท่าน
ดังนั้นเราควรจะเต็มใจที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไปได้ เพื่อปลดเปลื้องแม่ผู้ใจดีของเราให้หลุดพ้นจากความทุกข์และเหตุแห่งทุกข์ เราต้องถอนท่านออกจากเหตุแห่งทุกข์โดยทางอ้อม ซึ่งเหตุนั้นก็ได้แก่อกุศลกรรมของท่านที่ท่านได้ทำไปด้วยอวิชชา ท่านได้ประสบกับความทุกข์ทางกายและใจ และยังคงต้องประสบกับความทุกข์ต่อๆไป หน้าที่ของเราก็จะปลดปล่อยท่านออกจากความทุกข์นี้
ขอให้เราพิจารณาสถานการณ์นี้ มองให้เห็นว่าท่านทนทุกข์ทรมานจากความแก่ ความเจ็บไข้ กับความตายอย่างไร รวมทั้งความทุกข์จากการที่ท่านต้องพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักของท่าน การที่ต้องเผชิญกับความน่ากลัวของการเกิดใหม่ และการพบกับสถานการณ์ที่น่าสะพรึงกลัวและเจ็บปวดที่ท่านอาจจะไม่เข้าใจ คิดต่อไปว่าท่านจะต้องทนทรมานกับสถานการณ์อันเป็นทุกข์เช่นนี้อย่างไม่จบสิ้น ตราบเท่าที่ท่านยังไม่หลุดพ้นจากเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเราเห็นแม่ของเราในสภาพอันเป็นทุกข์เช่นนี้ ซึ่งท่านก็จะต้องพบกับความทุกข์ในอนาคตอีกด้วย เราก็จะเกิดความรู้สึกสงสารอย่างไม่อาจทนได้ต่อความทรมานความเจ็บปวดของท่าน และเกิดความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะปลดปล่อยท่านออกจากสถานะของความทุกข์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เราจะมีความปรารถนาอันเป็นหนึ่งเดียวที่จะทำทุกอย่างในอำนาจของเราเพื่อปลดปล่อยท่าน
เมื่อเรามาถึงสถานะของจิตเช่นนี้ ก็ขอให้เริ่มเชื่อมความรู้สึกสงสารกับความรู้สึกตกใจต่อความทุกข์ยากของแม่ของเรา ให้เข้ากับความตั้งใจหรือปณิธานที่จะทำอะไรบางอย่าง เริ่มจากการสวดมนตร์ถึงพระอาจารย์และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อช่วยเหลือท่านด้วยการทำอะไรบางอย่างในทันทีให้แก่ท่าน ขอให้เรารับรู้ว่าเราเองนั้นยังไม่มีความสามารถที่จะช่วยเหลือท่านได้อย่างที่เราต้องการ แต่พระพุทธเจ้ากับพระอาจารย์ทั้งหลายมีความสามารถเช่นนั้น ขอพรจากพระพุทธเจ้าและพระอาจารย์เพื่อช่วยเหลือท่าน นี่จะทำให้ปณิธานของเราเข้มแข็งมากขึ้นที่จะช่วยเหลือท่านได้จริงๆ

หลังจากที่เราภาวนาด้วยวิธีนี้ถึงแม่ของเราแล้ว ก็ภาวนาถึงพ่อ โดยเริ่มจาก (1) นึกถึงท่าน (2) นึกถึงความกรุณาประการต่างๆที่ท่านมีแก่เรา (3) ตระหนักรู้ถึงความจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือท่าน (4) ตั้งจิตมั่นที่จะช่วยปลดเปลื้องท่านออกจากความทุกข์ และ (5) ขอพรจากพระพุทธเจ้าทั้งหลายเพื่อช่วยเหลือท่าน จากนั้นก็พิจารณาสัตว์โลกอื่นๆที่กำลังทนทุกข์ สัตว์โลกที่เป็นบ้า เจ็บป่วย ถูกทำร้าย หรือทนทรมานด้วยหนทางต่างๆ
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เราเริ่มจากการภาวนาถึงสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อน คือถึงใครที่เราผูกพันเป็นพิเศษ จากนั้นก็รวมไปถึงผู้ที่เรามิได้เกิดความกรุณาขึ้นมาโดยธรรมชาติ เช่นผู้ที่อยู่ห่างไกลหรือคนที่เราเฉยๆด้วย
ท้ายที่สุด ขอให้เราเรียนรู้ที่จะรวมเอาศัตรูที่ร้ายที่สุดของเราในการภาวนาด้วย ขอให้เราตระหนักว่าด้วยการที่ศัตรูมาทำร้ายเรานั้น พวกเขาเพียงแค่ทำสิ่งเหล่านี้จากความหลง และกำลังสั่งสมเหตุแห่งคามทุกข์ต่อๆไป เมื่อเราเกิดความกรุณาอันไม่อาจทนได้แก่ศัตรูแม้ว่าศัตรูนั้นกำลังทำร้ายเรา เมื่อเราเกิดแรงจูงใจที่จะปกป้องศัตรูให้พ้นจากกรรมชั่วของเขา และเมื่อเรารับรู้ว่าแท้จริงแล้วศัตรูก็เป็นแม่ผู้ใจดีของเราเอง เมื่อนั้นเราก็จะแน่ใจได้ว่าเราได้เกิดความรู้มหากรุณาขึ้นมาแล้วจริงๆ
ในการทำเช่นนี้ คิดถึงศัตรูว่าเป็นแม่ผู้ใจดีของเรา ผู้ที่ได้เคยทะนุถนอมเรามาในชาติก่อนๆ แต่ด้วยอำนาจของความหลงกลับจำเราไม่ได้ และก่อให้เกิดอุปสรรคประการต่างๆในเส้นทางธรรมแก่เรา หากเมื่อพิจารณาเช่นนี้ เราเกิดความรู้สึกกรุณายิ่งมากขึ้นและยิ่งอยากช่วยเหลือผู้ที่เป็นศัตรูนี้ เราก็จะบรรลุขั้นตอนของการปฏิบัติเรื่องมหากรุณานี้แล้ว

(จาก “การเห็นทางธรรมสามระดับ” ของเตชุง ริมโปเช)

Ten Wholesome and Ten Unwholesome Actions

I am now translating Deshung Rinpoche’s oral commentary — The Three Levels of Spiritual Perception, which is published by Wisdom Books into Thai. The process has taken quite a long time because I am so busy with other commitments, so I can spend only a few minutes each day for the task. Nonetheless I plan to do it everyday (as far as possible) so that the completion is not too distant in the far future. This is my usual working plan — when you do a big task, try to pare it down into manageable chunks and do it one by one. Sooner or later the big task will be completed.

This is what I have been doing. The book is a long one, more than 500 pages, consisting of more than fifty chapters. I have now completed around 25 chapters. So this is almost half way, so at this rate the whole book should be finished not many months from now.

What I would like to write about here is Deshung Rnpoche’s teaching on the ten wholesome and unwholesome actions. This is a very important set of teachings by Lord Buddha which many in Thailand do not seem to pay much attention to. In Sanskrit it is kusalakarmapatha (minus the diacritical marks), or the path of wholesome action. This consists of ten items that those who practice the Dharma need to do in order to achieve the goal of Enlightenment.

For those who did not this already, here are the ten unwholesome actions (the wholesome ones are just opposites of these):

  1. Killing
  2. Stealing
  3. Committing Sexual Misconduct
  4. False Speech
  5. Divisive Speech
  6. Harsh Speech
  7. Idle Speech
  8. Covetousness or Envy
  9. Ill Will
  10. Wrong View

The ten unwholesome and wholesome actions are often taught in the context of karma. That is, those who vow to achieve Buddhahood in order to be able to help furry sentient beings across need to perform all the wholesome actions and avoid the unwholesome ones. This is absolutely necessary. Also, Theravadins also need to do the same, for without the wholesome karmas incurred by performing these wholesome actions, achieving nirvana is absolutely impossible.

Deshung Rinpoche taught that the results of performing the unwholesome actions are of three kinds, namely the fully ripened result, the result that is similar to its causes, and the prevailing, or dominant result. The first one is easy to understand. Doing the unwholesome actions can be a contributing cause to being reborn in one of the lower realms, i.e., as a tenant in hell, as a hungry ghost, or a non-human animal. The second type of result is quite interesting. By committing the unwholesome actions, one is likely to experience the same type of action over and over again. Suppose you steal something from somebody, a result of your action will be that the likeliness will increase that you will be in an environment that is conducive to your performing the same type of unwholesome action again, such as an environment where you will be encouraged to steal. Furthermore, you will also experience the inclination to perform the same type of action again. Suppose you stole something rather frequently in your past lives, chances are that in this life you will find yourself in a situation that makes it likely that you will steal again. This will only perpetuate the unwholesome karmic pattern, so that it will become more and more difficult for you to get out of this.

The third type of result is rather scary. By committing the unwholesome actions, you will find yourself in a situation where the physical environment itself is a cause of suffering. By committing the unwholesome acts, it is likely that you will be reborn in a desolate place where there is little food or drink, where the land is very harsh, and so on.

To underscore the importance of performing the wholesome actions and its role in achieving Liberation, Deshung Rinpoche has the following to say:

If the practice of these ten wholesome deeds is conjoined with the special Mahayana practices of bodhicitta (the bodhisattva’s vow to win enlightenment for the benefit of all beings), it will become not only a cause of higher rebirth but a cause of attaining perfect enlightenment as well. Similarly, if the practice of these virtuous deeds is conjoined with meditation on emptiness, which sees the true nature of phenomena, so that you perform such deeds with insight into the empty nature of everything, then you will accumulate transcendent merit, which becomes a cause not merely of rebirth in the higher realms but of buddhahoold itself.

This shows clearly that the ten wholesome/unwholesome deeds are very important indeed, and as such they function as a necessary stepping stone toward Nirvana and Enlightenment, as eventual Buddhahood. Deshung Rinpoche also recommends that you dedicate the merit obtained through performing the ten wholesome deeds to the enlightenment of all sentient beings. This will much expedite the journey.