Talk by Bruno Nua

Public Lecture

“Passages from the Heart Sutra: The Main Philosophical Teachings of Mahayana Buddhism”

by Bruno Nua

Room 706, Boromratchakumari Bldg., Faculty of Arts, Chulalongkorn University
December 6, 2012, 1:30 to 3 pm

More about Bruno at http://www.brunonua.com/

Heart Sutra

I planned to blog about the Heart Sutra for quite some time, and now I am attending a seminar at my Faculty and there is a computer at the back so I got the opportunity to write about it now.

The key message of the Heart Sutra is nothing less than the key message of Buddhism itself. Let’s look at some of the most important passages from the Sutra:

Body is nothing more than emptiness,
emptiness is nothing more than body.
The body is exactly empty,
and emptiness is exactly body.

Volumes and volumes have been written on what the Sutra is supposed to mean, but the key here is that words alone are never enough. One will not be able to attain Nirvana through intellectual understanding alone. That is, attaining Nirvana is not something you can achieve by thinking and ratiocinating. One has to “see” reality, but it is not the kind of reality that we are accustomed to. It’s on the one hand the same reality, but on the other hand it’s completely different. It’s the kind of reality that one sees when one goes beyond all conceptual distinctions. This is not something that we can do just by deciding to do. It’s a highly advanced skill that requires a lot of effort and practice. The Buddha laid down the path toward realizing this skill through his teaching of morality, meditation and wisdom.

But the point I would like to emphasize here is the ultimately paradoxical character of the Buddha’s teaching: Emptiness is form; form is emptiness. What is there is exactly speaking what is not there, and what is not there is what is there. This way of speaking is not a play on words; it is the most direct expression of the core of the Buddha’s teaching. Some scholars try to interpret the paradox away, saying that the ultimate message beyond the paradoxical sentences is devoid of the paradox. But in fact the paradox is there, staring us at the face. Our task is not to shy away from it, but to face it and live with it and ultimately try to realize that the real truth is the paradox itself. The truth is what the Sutra says: Form (or the body in this translation) is emptiness and emptiness is form. We try to see the truth of the paradox, trying to realize its inevitably impossible and contradictory nature. It is through the contradiction that the point of the Buddha is carried through.

So this is all I can say about the Heart Sutra. So this is not quite a commentary because the point is that no commentary is possible. The Heart Sutra can also be used as a tool for those who meditate. You can memorize the whole text and when the mind is stilled within deep meditation, perhaps a breakthrough can happen. But that is not what we are looking for. The spirit of the Heart Sutra is that there is no goal while in fact there is a goal. It’s of course difficult, but one can certainly try.

Heart Sutra

Here is a beautiful rendition of the Prajñaparamitahrdaya Sutra in Sanskrit. This Sutra captures the essence of Buddhist teaching in only a few sentences. These few sentences, however, can give rise to huge volumes of literature and commentaries. In essence, the Sutra says that everything is empty of their inherent character.

ความว่างคือรูป

ในโพสก่อนได้พูดเกี่ยวกับความหมายของประโยค “รูปคือความว่าง” ข้อความในพระปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรยังมีอีกประโยคหนึ่ง ได้แก่ “ความว่างคือรูป” ซึ่งเข้าใจยากกว่าประโยคแรกพอสมควร ในประโยคแรก — “รูปคือความว่าง” — ความหมายก็คือว่า รูปต่างๆ ซึ่งก็ได้แก่วัตถุต่างๆในธรรมชาติ เช่น ดิน หิน ภูเขา ฯลฯ ต่างก็เป็นของว่าง กล่าวคือไม่มีความเป็นอยู่ในตัวเอง ในทางกลับกัน การบอกว่า “ความว่างคือรูป” ก็หมายความว่า ตัวความว่างนั้น แท้จริงก็มิใช่สิ่งใดอื่น ก็คือรูปนั่นเอง

เรื่องนี้ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจพอสมควร ผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษาพุทธปรัชญาหรือมีพื้นฐานมาจากระบบปรัชญาอื่นๆ มักจะมองว่า สิ่งที่พุทธปรัชญาเรียกว่า “ความว่าง” หรือ “ศูนยตา” (“สุญญตา” หากเขียนแบบบาลี) นั้น เป็นอะไรอย่างหนึ่ง ที่มีความเป็นอยู่เอกเทศในตัวเอง ตัวอย่างแบบนี้มีให้เห็นมากในปรัชญาตะวันตก หรือแม้แต่ในปรัชญาอินเดียเอง ในระบบปรัชญาของเพลโต สิ่งต่างๆที่เราเห็นอยู่ทุกๆวัน เช่น เก้าอี้ ก้อนหิน รองเท้า ฯลฯ ต่างก็มีความเป็นสิ่งๆนั้นมาจากการที่วัตถุเหล่านั้น “มีส่วนร่วม” อยู่ในแบบของสิ่งนั้น อันได้แก่วัตถุในโลกอีกโลกหนึ่ง อันเป็นโลกนิรันดร ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก้อนหินก้อนหนึ่งที่เรามองเห็น เป็นก้อนหินก็เพราะว่า มันไปมีส่วนร่วมอยู่ในแบบของก้อนหิน แบบของก้อนหินมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น แต่ก้อนหินมีมากมายหลายก้อน ซึ่งต่างก็เป็นก้อนหิน ไม่ใช่อย่างอื่น ก็เพราะต่างก็มีส่วนร่วมอยู่ในแบบของก้อนหิน เราไม่สามารถเห็นแบบของก้อนหินได้ด้วยตา แต่เข้าใจได้ด้วยปัญญา

ทรรศนะแบบนี้แตกต่างจากของพระพุทธศาสนาโดยสิ้นเชิง เพราะหัวใจของคำสอนของพระพุทธศาสนาอยู่ที่ “ศูนยตา” ซึ่งหมายความว่า ทุกๆสิ่งต่างก็ไม่มีความเป็นอยู่ในตัวเองทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่สามารถมีแบบที่อยู่ในโลกนิรันดรแบบของเพลโตได้ ผู้ที่ไม่ค่อยเข้าใจพุทธปรัชญา มักคิดว่า พอมีคำสอนว่า “รูปคือความว่าง” ก็มักเข้าใจว่า ความว่างนั้นเองเป็นลักษณะอันแท้จริงของรูปนั้น หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความว่างเป็น ตัวตน ที่แท้จริงของรูปต่างๆ แต่แท้จริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้นเลย เพราะต่อจากประโยค “รูปคือความว่าง” ก็ได้แก่ประโยค “ความว่างคือรูป” ซึ่งหมายความว่า เราไม่สามารถถือได้ว่า ความว่างเป็นลักษณะที่แท้จริงของรูป แบบเดียวกับในปรัชญาของเพลโต แท้จริงแล้ว ความว่างก็คือรูปนั่นเอง คือจริงๆแล้ว ความเป็นจริงทั้งหลาไม่ได้แบ่งกันออกเป็นระดับๆ แต่สิ่งที่เรารับรู้ ก็ได้แก่ความเป็นจริงทั้งหมดแล้ว ไม่ใช่ว่ามีความเป็นจริงที่แท้ซ่อนอยู่ภายใต้ความเป็นจริงที่ปรากฏแก่การรับรู้ของเราเอง

ผลก็คือว่า ทั้งรูปกับความว่างก็ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆทั้งหมด รูปเป็นรูปได้ก็เพราะความว่าง ความว่าง (หรือเรียกอีกอย่างว่า “ศูนยตา”) เป็นความว่างได้ก็เพราะรูป

รูปคือความว่าง

เมื่อไปประชุมที่ Alet-les-Bains ซึ่ง Academie du Midi เป็นผู้จัด มีคนมาถามว่า ข้อความในพระปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ที่ว่า “รูปคือความว่าง ความว่างคือรูป” หมายความว่าอย่างไร คนถามเป็นผู้ดำเนินรายการในการเสนอบทความในช่วงบ่าย ปรากฏว่าสนใจเรื่องนี้มาก และตั้งใจจะถามอยู่เป็นเวลานาน แต่ยังไม่ได้โอกาสในช่วงของการประชุม พอกินข้าวเย็นกันก็เลยได้โอกาสถาม คำถามแบบนี้ถ้าถามในที่ประชุม อาจต้องใช้เวลานานจนกินเวลาของคนอื่นไปก็ได้

คำตอบที่ได้บอกอาจารย์ท่านนั้นไปก็คือว่า องค์ดาไลลามะเคยให้คำตอบไว้ในหนังสือเล่มหนึ่งของท่านว่า ที่บอกว่า “รูปคือความว่าง” หรือ “Form is Emptiness” นั้น ได้แก่การที่ “รูป” ซึ่งเป็นศัพท์เทคนิคหมายความถึงสิ่งต่างๆที่เป็นวัตถุ จริงๆแล้วมิได้มีความเป็นอยู่ในตัวเอง ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอยู่อย่างที่เป็นได้เพราะสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆทั้งสิ้น ในขณะที่ตอบคำถามนี้ กำลังกินข้าวเย็นกันอยู่ แล้วบนโต๊ะก็มีแก้วหลายใบ ได้ตอบไปว่า แก้วนั้นก็เป็นรูปอย่างหนึ่ง ซึ่งก็มิได้มีความเป็นอยู่ในตัวเอง การที่สสารก้อนหนึ่งเป็นแก้วได้ก็เพราะว่า มีรูปร่างเป็นแบบแก้ว ดังนั้น สสารก้อนหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับรูปร่างแบบเป็นแก้ว จึงทำให้เป็นแก้ว เรื่องนี้เป็นจริงกับแก้วทุกใบ แต่ในขณะที่ตอบนี้ก็ได้เอามือจับแก้วใบหนึ่งไว้ คำถามต่อไปก็คือ แล้วอะไรทำให้แก้วใบนี้เป็นแก้วใบนี้ ไม่ใช่แก้วทั่วไป และก็ไม่ใช่แก้วใบอื่น คำตอบก็คือว่า ในขณะที่กำลังพูดอยู่นั้น มือกำลังจับแก้วใบนั้นไว้ ดังนั้น การเป็นแก้ว ใบนี้ เลยอยู่ที่การที่มือกำลังจับอยู่นั้นเอง นอกจากนี้แก้วใบนี้ก็ยังมีความสัมพันธ์กับแก้วใบอื่นๆ เช่นอยู่ทางขวาของบางใบ อยู่ทางซ้ายของบางใบ อยู่บนโต๊ะ ห่างจากขอบโต๊ะเท่านั้นเท่านี้ หากปราศจากเงื่อนไขเหล่านี้แล้ว สสารก้อนนี้ก็ไม่มีทางเป็นแก้วใบนี้ไปได้เลย

ที่บอกว่า “รูปคือความว่าง” ก็คือตรงนี้นี่เอง รูปทั้งหมด ซึ่งก็คือสสารวัตถุทั้งหมด เป็นสิ่งอย่างที่มันเป็น เช่น เป็นแก้ว ก้อนหิน ก้อนกรวด ภูเขา น้ำ ทะเล ฯลฯ ก็เพราะว่าเรามีคำไปเรียกบางส่วนของมันให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ในตัวของมันเองแล้วไ่ม่มีลักษณะอะไรเลย ดังนั้นจึงไม่เป็นอะไรเลย ที่บอกว่า “ว่าง” นั้นก็คือ ว่างจากความเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ซึ่งมีอยู่ในสิ่งนั้นเอง ซึ่งลักษณะแบบนี้ไม่มีอยู่จริง แต่เราคิดไปว่าเป็นจริงเพราะมันตรงกับสามัญสำนึกของเรา และเราก็ไม่หยุดคิดว่าจริงๆแล้วมีสิ่งที่ว่านี้หรือไม่ เราคิดถึงแก้ว เรามองเห็นแก้ว เรากินน้ำจากแก้ว โดยทั่วไปเราไม่คิดว่า แก้วนั้นเป็นแก้วได้เพียงเพราะเราไปกำหนดเรียก หรือไป “บัญญัติ” เรียกมันเข้าเท่านั้น นั่นคือ เราไปกำหนดขอบเขตหรือขอบนอกของสิ่งนี้ ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นอกจากนี้ไม่ใช่ รูปร่างแบบนี้จึงเรียกว่า “แก้ว” ทั้งๆที่จริงๆแล้ว มันเป็นสสารธาตุ หรือเป็นของๆมันเองอยู่อย่างนั้นเอง การเป็นเช่นนี้ก็คือ แก้วเป็นความว่าง ก็คือรูปคือความว่างนั่นเอง…