Tara Mantra

There are many videos on Tara Mantra on Youtube, but this one stands out for its very beautiful music setting. You see a girl sitting and meditating. On top of her head is Master Tsongkhapa. Deep in his heart is the Bodhisattva Tara, and deep inside her breast is the letter TAM, her seed syllable, surrounding by the ten syllables of her mantra – Om Tara Tuttare Ture Svaha. This the standard method of meditating on Tara. The idea is to visualize that one ultimately is identified with the Bodhisattva herself. What this means is that one accepts all the qualities of Tara into oneself, so that there is no distinction whatsoever between oneself and Tara. Or to put it another way, one does actually become Tara in one’s meditation. This does not mean that one is having an illusion or is becoming crazy, like a patient who thinks that he is Napoleon; but it means that the aim of the meditation is to acquaint the mind with Tara herself. To become one with Tara means that one is losing oneself —  one is letting go of one’s own ego and one’s own personality, and merges into something much larger. It is pure spirituality. After identifying oneself with Tara, it is necessary that the practitioner ends the session with the ‘dissolution’ or ‘completion’ stage, where one visualizes that Tara dissolves back into her seed syllable, and finally into empty space, and then one remains within the meditation in emptiness — no thought, no fabrication. The two stages of the meditation — the visualization and the completion stage — always complement each other and the meditation will not be complete without both of them.

 

นายช่างเรือน

เมื่อวานผมได้ไปร่วมงานของมูลนิธิพันดาราหัวข้อ “เยิรไกรลาศ: ลำนำมนตราหิมาลัย” โดยมีแขกรับเชิญคนสำคัญได้แก่แม่ชีเชอยิง เตรอมา ผู้มีชื่อเสียงจากการร้องเพลงธรรมะไปทั่วโลก การมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้เป็นครั้งแรกของเธอ และเธอก็ได้รับเชิญจากหลวงพี่อนิล วัดบวรนิเวศที่คิดว่าเหตุใดแม่ชีเชอยิงถึงไปโด่งดังอยู่ทั่วโลกแต่ในประเทศไทยที่อยู่ใกล้ๆเนปาลบ้านเกิดของท่านทั้งสองแล้ว กลับไม่เคยมาเยี่ยมเยียนเลย หลวงพี่อนิลก็เลยเชิญแม่ชีมาร่วมงานพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก แล้วในวันสุดท้ายของการมาเยือนประเทศไทย ก็ได้เปิดโอกาสให้คนทั่วไปเข้าร่วมฟังการบรรยายและการขับขานลำนำของท่าน

การมาเยือนของท่านแม่ชีในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการฉลอง “พุทธชยันตี” ซึ่งปีนี้เชื่อกันว่าเป็นปีที่ครบรอบ ๒,๖๐๐ ปีของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า กาาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านับเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญมากที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์โลก ทำให้ชาวโลกได้มองเห็นหนทางที่จะเอาชนะความทุกข์ทั้งมวลที่มารุมเร้าอยู่ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงยิ่ง ในการเสวนากันช่วงแรกหลวงพี่อนิลได้กล่าวถึงคำอุทานแรกของพระพุทธเจ้าหลังจากที่เพิ่งได้ทรงตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ คำอุทานนี้มีความสำคัญยิ่งในการเข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนา จึงขอยกมาทั้งหมดดังนี้

อะเนกะชาติสังสารัง    สันธาวิสสัง อนิพพิสัง
เมื่อเรายังไม่พบญาณ  ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นเอนกชาติ

คะหะการัง คะเวสันโต    ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน; การเกิดทุกคราว เป็นทุกข์ร่ำไป

คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ    ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ
นี่แน่ะนายช่างปลูกเรือน!  เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว;  เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป

สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา    คะหะกูฏัง วิสังขะตัง
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว;  ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว

วิสังขาระคะตัง จิตตัง    ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา
จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป  มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา

และเมื่อแม่ชีเชอยิงได้ยินคำแปลของการสนทนากันในหัวข้อนี้ ก็เลยกล่าวขึ้นมาว่า ตนเองรู้จักเพลงพื้นบ้านของเนปาลอยู่บทหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาตรงกันกับคำอุทานนี้ของพระพุทธเจ้า และท่านก็ได้กรุณาร้องให้เราฟังสดๆดังต่อไปนี้

Ani Choying Singing

หากเราพิจารณาเนื้อหาของคำอุทานของพระพุทธเจ้าตรงนี้ เราก็จะเห็นว่าเนื้อความบอกว่า นายช่างที่สร้างบ้านให้ท่านอยู่นี้ได้สร้างบ้านให้ท่านอยู่มาเป็นเวลาหลายภพหลายชาติ และเหตุที่ท่านยังทรงอยู่ในสังสารวัฏก็เพราะว่านายช่างนี่แหละเป็นคนคอยสร้างบ้านให้ท่านอยู่มาเรื่อย และเมื่อท่านได้ทรงตรัสรู้ ก็พบตัวนายช่าง รู้แล้วว่านายช่างจะทำอะไร อย่างไร ก็เลยหักพังบ้านของนายช่างเสีย นายช่างก็สร้างบ้านไม่ได้อีกต่อไป

เราอาจสงสัยว่าทำไมจึงต้องทำลายบ้านของนายช่างด้วย คนทั่วไปมักจะคิดว่าทำไมต้องทำลายบ้านด้วย มีบ้านอยู่ดีๆไม่ชอบหรือ? คำตอบก็คือว่าการมีบ้านก็คือการว่ายวนอยู่ในสังสารวัฎ ชาติหนึ่งก็มีบ้านหนึ่ง เช่นชาตินี้เราเป็นมนุษย์ (ถึงอ่านบล๊อกนี้รู้เรื่อง) แต่ชาติก่อนเราอาจเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือเป็นเทวดา หรือเป็นอย่างอื่นๆ แล้วชาติหน้าก็จะเป็นอย่างอื่นเรื่อยๆไป เหมือนกับบ้านที่ว่านี้ไม่ใช่บ้านที่แท้จริง แต่เปลี่ยนไปเรื่อยๆเหมือนเราท่องเที่ยวไปแล้วก็แวะพักค้างคืนตามโรงแรม เพียงแต่ว่าไม่ว่าเราจะไปโรงแรมที่ไหน ก็จะมีนายช่างที่ว่าคอยสร้างให้เรื่อย ทำให้เราคิดอยู่ทุกครั้งว่าห้องที่เราอยู่ครั้งนี้เป็นบ้านของเราจริงๆ

ปัญหาก็คือ นายช่างคนนี้เป็นใคร ทำไมถึงคอยมาปลูกเรือนให้เราอยู่ทุกครั้งที่เราท่องเที่ยวไป จริงๆแล้วก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นตัวเราเองนี่แหละ การค้นพบที่สำคัญของพระพุทธเจ้าก็คือว่าค้นพบว่านายช่างที่คอยสร้างบ้านให้อยู่ในแต่ละชาตินั้น ก็คือตัวของเราแต่ละคน การคิดไปว่ามีตัวเราทำให้เกิดการแบ่งแยกว่านี่คือตัวเรา นี่ไม่ใช่ตัวเรา และขอบเขตของตัวเราก็คือขอบเขตของ “บ้าน” ที่นายช่างปลูกให้เรานี่เอง

ดังนั้นการที่พระพุทธเจ้าพบกับคนสร้างบ้าน ก็คือกลับมาเผชิญหน้ากับตัวตนของท่านเอง เหมือนกับพระพุทธเจ้ากลับมาเจอกับ “เจ้าชายสิทธัตถะ” หรือ “โอรสองค์เดียวของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมหามายา” หรือ “อาจารย์ของปัญจวัคคีย์” แล้วก็รู้ว่าทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวตนของท่านที่คอยสร้างที่อยู่ให้แก่ท่านเพื่อหลอกล่อให้ท่านติดอยู่กับบ้านเหล่านี้ ให้คิดไปกว่าบ้านเหล่านี้เป็นของจริง เป็นที่พักอาศัยที่ปลอดภัยสุขสบาย ซึ่งแท้จริงแล้วมีแต่ทำให้เกิดความทุกข์มากมาย ซึ่งความทุกข์เหล่านี้เองที่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อหาทากำจัดถอนรากถอนโคนโดยสิ้นเชิง

ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงกล่าวว่า ” เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว;  เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป”? ก็เพราะว่าหากนายช่างที่ว่านี้เป็นคนอื่น การเพียงแต่รู้จักจะไม่ทำให้นายช่างนี้มาทำเรือนให้ท่านไม่ได้อีก แต่เนื่องจากนายช่างก็ไม่ใช่ใครที่ไหน อยู่ด้วยกันกับท่านมาตลอดทุกภพทุกชาติ การ “รู้จัก” นายช่างเรือนก็คือว่า “รู้ทัน” ว่าบ้านที่นายช่างคอยสร้างมาให้ตลอดนี้ ไม่ใช่อะไรอื่นนอกเสียจากการที่ตัวตนของท่านถูกสร้างขึ้นมา และก็สร้างมายาหลอกท่านว่านี่คือความจริง ซึ่งเป็นเหตุเบื้องแรกที่สุดของการเกิดความทุกข์

นี่เป็นเหตุที่ว่าทำไมการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าจึงเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติทั้งมวล การเผชิญหน้าและรู้จักเท่ากันกับ “นายช่างเรือน” ซึ่งก็คือตัวตนของเรานี่เอง และทำลายการสร้างภาพมายาของนายช่างเสียได้เป็นความก้าวหน้าอย่างสำคัญยิ่งของมนุษย์ และเป็นเหตุที่ว่าทำไมเราถึงควรมาฉลอง ๒.๖๐๐ ปีของการตรัสรู้กัน การฉลองนี้ไม่ใช่เพียงแค่ทำตามกระแสหรือทำอะไรตามที่สื่อต่างๆชักชวนให้เราทำ แต่เราควรกลับมาหา “นายช่าง” ประจำตัวของเราแต่ลคนให้พบแบบเดียวกับที่พระพุทธเจ้าได้ทำให้ดู แล้วก็บอกนายช่างคนนี้ว่า “เรารู้จักท่านแล้ว ต่อไปนี้ท่านสร้างบ้านให้เราไม่ได้อีกต่อไปแล้ว” หากเราเริ่มทำได้แบบนี้ก็นับได้ว่าเราฉลองพุทธชยันตี และเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง

 

 

Richter playing Chopin’s Fourth Scherzo

I just went to Kinokuniya’s bookstore at Siam Paragon. It’s a huge shopping center in the middle of Bangkok close to my office. I found out that they had just put a nice collection of sheet music of all kind, piano, violin, voice, etc. And the price was very reasonable. So I bought a collection of Chopin’s Scherzi and the Fantasia. The fourth Scherzo is one of my favorites, but it looks like the least popular of the four. In any case here it is, played by none other than Sviatoslav Richter:

 

Free Speech vs. Hate Speech

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาผมได้รับเชิญให้ไปพูดในงานเรื่อง “ความท้าทายของสื่อใหม่กับการเมืองไทย” จัดโดยมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์และคณะรัฐศาสตร์ จุฬา โดยพูดเรื่อง “Hate Speech กับ Free Speech” ร่วมกับ อ. พิรงรอง และ อ. พรสันต์ จากคณะนิติศาสตร์ ม. อัสสัมชัญ ในการพูดมีโจทย์ที่น่าสนใจมากๆเกี่ยวกับพรมแดนระหว่างสองอย่างนี้ ก็เลยเอามาเล่าให้ฟังพร้อมกับคิดอะไรเพิ่มจากที่พูดวันนั้นด้วย

พูดง่ายๆ free speech ได้แก่เสรีภาพในการพูดการแสดงความคิดเห็น ซึ่งรวมไปถึงการแสดงออกทางอื่นๆเช่นการวาดรูป ฯลฯ ด้วย เสรีภาพดังกล่าวได้รับการประกันในรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ เนื่องจากเป็นเสรีภาพพื้นฐานอย่างหนึ่ง และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาธิปไตย เมื่อประชาธิปไตยเป็นการปกครองโดยประชาชนที่ปกครองกันเอง การที่แต่ละคนมีเสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็นจึงมีความสำคัญ เพราะเป็นการแสดงถึงความเท่าเทียมกันของแต่ละคนในฐานะพลเมือง ซึ่งแต่ละคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเหนือกว่าใครโดยธรรมชาติ ดังนั้นทุกคนก็ต้องมีเสรีภาพเท่าเทีียมกันในการแสดงความเห็นของตนเอง นอกจากนี้การเปิดกว้างให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ก็ยังเป็นเปิดโอกาสให้ความคิดต่างๆถูกเสนอขึ้นมาแม้จะเป็นความคิดที่แปลกประหลาดเพียงใดก็ตาม เราเรียกสภาวะที่ความคิดต่างๆไหลเวียนเช่นนี้ว่า “ตลาดความคิดเสรี” สถานการณ์แบบนี้ย่อมดีกว่าสถานการณ์แบบตรงข้ามที่มีการปิดกั้นมิให้มีความคิดที่แตกต่างมีการไหลเวียน เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อใดเรามีความจำเป็นต้องใช้ความคิดแปลกๆที่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน ถ้ามีการปิดกั้น เราก็ไม่รู้ว่าความคิดที่ถูกปิดไปจะกลายมาเป็นประโยขน์มากๆหรือไม่

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ก็มีบางฝ่ายใช้เสรีภาพนี้เพื่อแสดงความคิดเห็นที่มุ่งทำร้ายผู้อื่น แทนที่จะเป็นการแสดงความคิดเห็นเพื่อเสนอความคิดเข้ามาในตลาดความคิดเสรีอย่างเดียว การใช้คำพูดเพื่อมุ่งทำร้ายผู้อื่น เช่นทำให้คนอื่นหรือกลุ่มคนบางกลุ่มถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม เรียกรวมๆว่า “hate speech” ในปัจจุบันยังไม่มีใครบัญญัติคำนี้เป็นภาษาไทยที่ทุกฝ่ายยอมรับกัน ก็เลยต้องใช้ภาษาอังกฤษไปก่อน

ปัญหาก็คือว่า เราควรมีเส้นแบ่งสองอย่างนี้ออกจากกันหรือไม่ อย่างไร และเราควรมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เพื่อมิให้มีการใช้เสรีภาพนั้นสร้าง hate speech ขึ้นมาหรือไม่ เรื่องนี้เป็นที่ถกเถียงกันมากมาย แต่เรากำลังพยายามจะหาหลักการที่น่าจะใช้ได้แก่สังคมไทย ก็เลยอยากจะเสนอความคิดไว้ตรงนี้

ในบางประเทศอย่างเช่นเยอรมนี มีกฎหมายที่เข้มงวดมากเกี่ยวกับ hate speech เพราะเขามีประสบการณ์อันขมขื่นมากมายเกี่ยวกับพรรคนาซีและสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ในประเทศสหรัฐ กลับไม่มีการควบคุม hate speech เพราะถือว่า hate speech เป็น free speech แบบหนึ่ง พูดอีกอย่างก็คือว่ารัฐธรรมนูญสหรัฐฯมีการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางมาก จนกระทั่งหากไม่มีเหตุอันชัดเจนแจ่มแจ้งว่าเป็นการทำร้ายกันด้วยถ้อยคำจริงๆแล้ว คำพูดหรือการแสดงออกต่างๆย่อมได้รับความคุ้มครองเสมอ

แล้วเราควรจะทำอย่างไร โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแสดงความคิดเห็นผ่านทางสื่อใหม่อย่าง Facebook Twitter หรืออื่นๆกันมากมาย ก่อนที่เราจะได้ข้อสรุป เราอาจต้องลองดูก่อนว่า หากตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งไปจะเกิดผลอะไรตามมา แล้วผลนั้นๆเรายอมรับได้หรือไม่ ในทางหนึ่ง เราอาจมีมาตรการที่เข้มงวดมากๆในการควบคุม hate speech อาจถึงขั้นดำเนินคดีทางอาญาหรือปิดเว็บนั้นๆไปเลย เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยทำอยู่ในกรณ๊ของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตาม ป. อาญามาตรา 112 แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาก็คือว่า เรามีมาตรอะไรไปวัดว่า คำพูดแบบใดเป็น hate speech แบบใดไม่ใช่ อาจมีคนตอบว่าคำพูดไหนมุ่งทำร้ายคนอื่นหรือกลุ่มอื่นน่าจะเข้าข่าย แต่ปัญหาก็คือว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นการทำร้ายจริงๆ สมมติมีคนๆนึงโพสรูปบนเฟสบุ๊ค เป็นรูปอภิสิทธิ์ทำท่าคิกขุ เป็นเหมือนเด็กผู้หญิง กำลังถือหางเปีย อย่างที่เห็นในรูป การแสดงออกแบบนี้จะเข้าข่าย hate speech หรือไม่ ถ้าตีความแบบหนึ่งก็มองได้ว่าเข้า เพราะรูปนี้เป็นการ “ทำร้าย” อภิสิทธิ์โดยตรง เพราะทำให้ภาพพจน์เสียหาย

แต่ถ้าเรามองอีกมุมหนึ่ง การที่สังคมมีการเปิดให้ผู้คนมีเสรีภาพที่จะล้อเลียนนักการเมืองของตนเองได้ ก็เป็นสัญญาณที่แสดงว่าประชาธิปไตยในสังคมนั้นเบ่งบานงอกงามดี ถ้ามีการออกกฎหมายปิดกั้นมิให้มีการสื่อสารภาพทำนองนี้ออกสู่สาธารณะ ผลที่จะตามมาก็คือว่าประชาชนถูกจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แม้ว่าความคิดเห็นบางอย่างอาจไม่ถูกใจบางฝ่าย แต่นั่นก็เป็นหัวใจของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การมีเสรีภาพนี้ไม่ได้หมายความว่า ความคิดเห็นที่แสดงออกมาจะต้องถูกใจทุกๆคนในสังคม นั่นมันเป็นไปไม่ได้ และใครที่คาดหวังเช่นนั้นก็กำลังทำลายเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไปอย่างน่าเสียดาย

นอกจากนี้อีกเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงควรระวังมากๆในการมีกฎเกณฑ์ใดๆที่จะจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นก็คือว่า ในตลาดความคิดเสรีนั้น ความคิดเห็นใดหรือการแสดงออกใดที่ต่างไปจากของคนส่วนใหญ่มากๆ จะตายไปเองตามธรรมชาติ เนื่องจากความคิดเหล่านั้นไม่ได้รับการ “หล่อเลี้ยง” จากผู้ฟัง จะเปรียบก็เหมือนกับคนที่ออกไปตะโกนอยู่ปาวๆกลางถนน แต่เป็นเรื่องที่ไม่มีใครสนใจเลย อาจมีคนหยุดฟังบ้าง แต่พอรู้ว่าพูดเรื่องอะไรก็เดินหนีไป ความคิดเห็นที่ต่างจากส่วนใหญ่มากๆโดยทั่วไปก็จะเป็นแบบนี้ เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าจะมีเหตุผลอะไรที่จะไปปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยอ้างว่าจะเป็น hate speech หรือจะอ้างเหตุผลอื่นอย่างไรก็ตาม ถ้าเราเห็นว่าตลาดความคิดเสรีมีคุณค่า มีความจำเป็นแก่ประชาธิปไตย ก็ควรที่เราจะต้องระวังมากๆในการจำกัดเสรีภาพนี้

Heart Sutra

Here is a beautiful rendition of the Prajñaparamitahrdaya Sutra in Sanskrit. This Sutra captures the essence of Buddhist teaching in only a few sentences. These few sentences, however, can give rise to huge volumes of literature and commentaries. In essence, the Sutra says that everything is empty of their inherent character.

Wikileaks and National Security

Yesterday I was invited to participate in a discussion forum on “Wikileaks and Naitonal Security” organized by the Thai Netizen Group. It was a memorable experience and I’d like to share with you here my thoughts about the topic.

Wikileaks has been very much under intense scrutiny now after they have released a number of cables submitted by American embassies worldwide back to Washington. A lot of embarrassing information can be found there, but more interesting are those pieces that expose wrong doings of people who are in power. This is the very powerful and disruptive aspect of Wikileaks. Used in the right way, it has a way of keeping governments in check, curbing their power since they know that there is now no secret in the world and what they do can be leaked anytime.

At least that is the theory, and there many dedicated people at Wikileaks and their allies who are intent on keeping it that way. However, governments have other ideas. They resent being watched all the time and the troubles that Wikileaks and its founder Julian Assange has been through is a clear indication that governments will not stand still and let Wikileaks do anything they want on them.

So the talk yesterday focused mostly on the US and its behavior, which is appropriate at the moment because much of the discussion on Wikileaks has been focused on the US. But since the forum was organized in Bangkok, there was the natural interest in linking up the Wikileaks situation to the Thai context. The main question is: Does Wikileaks pose a threat to national security or is it an opportunity for the people themselves to gain more power and control over their government?

Many of the participants were optimistic that Wikileaks would do more good than harm, but perhaps that depends on what kind of information being leaked and how Wikileaks itself operates. There have been news reports saying that Wikileaks might inadvertently become an ally of terrorist groups who might use the information there to pose security threats to American interests. That accusation was denied by the member of Wikileaks in the audience yesterday, and to date no such damaging information has been leaked to aid the work of terrorists. So it looks like the accusations were unfounded. Another thing is that the power of Wikileaks depends on what kind of information being leaked. If the accusation of Wikileaks aiding terrorists were to materialize, this would mean they would have released information containing names of secret agents or places which were sensitive to American interests so that they would aid terrorists in finding suitable targets. At least that is a possibility, and the fact that it has not materialize (even though the people at Wikileaks might in fact possess those damaging pieces of information – perhaps – I don’t really know) shows that the people there possess enough integrity not to let that happen.

So we come to the old question regarding use of power. Wikileaks has a lot of power, and it can potentially control the behavior of governments. But who controls Wikileaks? This is the classic question of finding check and balance to power. What will prevent Wikileaks from becoming an extortionist group searching for their own personal, immediate gains, at least according to the views of some who are really critical of it? Now those working at Wikileaks are idealistic types who care much more for the benefit of the whole than for themselves. We should have more of these people, but what would assure those who are afraid that Wikileaks itself, having so much power in their hands, might not become a monster themselves?

So we might have “meta-Wikileaks” to watch over the workings of Wikileaks? But that is a no starter because it invites infinite regress. In the end there is no alternative for the people to become ever vigilant and they have to become the ultimate arbiter as to the integrity and balanced use of power of any political and public organizations. This is a tall order, but one which any democracy cannot live without. Nobody says that being a democracy is easy. Thailand is undergoing very painful experiences just on this point.

Arturo Michelangeli Playing Debussy

It’s Saturday and I have nothing much to do. So I played around in YouTube and found this gem. It’s the great Arturo Michelangeli playing Debussy’s “Reflections on the Water”. This piece is typical of impressionistic music. Debussy is “painting” the image of water and its reflections with the piano.