ภัยพิบัติกับปัญหาเรื่องความชั่วร้าย

เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาลกำลังเป็นข่าวใหญ่ในขณะนี้ ผู้คนจากทั่วโลกต่างก็เห็นอกเห็นใจผู้ประสบภัย และมุ่งหน้าไปยังเนปาลเพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม เรื่องแผ่นดินไหวนี้ก็ทำให้การพูดแบบเก่าๆหวนกลับมา นั่นคือเกิดคำถามว่า คนเนปาลทำบาปกรรมอะไรไปหรือเปล่า ถึงได้ประสบกับเคราะห์กรรมแบบนี้?

ในวิชาเทววิทยา มีปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งได้แก่ “ปัญหาเรื่องความชั่วร้าย” คือว่าพระเจ้าเป็นผู้ที่ทรงพระมหากรุณาสูงสุด และในขณะเดียวกันก็ทรงเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดด้วย การเป็นผู้ทรงความกรุณาสูงสุดหมายความว่า พระเจ้าเต็มเปี่ยมไปด้วยความรักแก่สัตว์โลกที่พระเจ้าสร้างขึ้นมาอย่างเสมอกัน ไม่มีประมาณ และการเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดก็คือว่า พระเจ้าสามารถทำได้ทุกสิ่ง ไม่มีอะไรจะมาขัดขวางอำนาจของพระองค์

แต่ปัญหาก็คือว่า ในโลกนี้มี “ความชั่วร้าย” อยู่ ทั้งความชั่วร้ายที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่นสงคราม แล้วก็ความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นเอง เช่นแผ่นดินไหว โรคระบาด หรือสึนามิ ไม่ว่าจะเป็นความชั่วร้ายแบบไหน ก็ทำให้ผู้คนต้องทนทุกข์ทรมาน ล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ทรัพย์สินเสียหาย ฯลฯ ทั้งนั้น แต่พระเจ้าเป็นผู้ทรงความกรุณากับทรงมีอำนาจสูงสุด แล้วเหตุใดพระเจ้าจึงปล่อยให้เกิดความชั่วร้ายเหล่านี้ขึ้น? หากพระองค์มีความกรุณาสูงสุดจริง รักสัตว์โลกจริง และมีอำนาจทำได้ทุกอย่างจริง แล้วทำไมจึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น?

ปัญหานี้นับว่าเป็นปัญหาที่ท้าทายศรัทธาของผู้ที่เชื่อในพระเจ้ามากที่สุด แล้วก็แก้ได้ยากที่สุดในบรรดาปัญหาทางเทววิทยาทั้งหลาย อย่างไรก็ตามนักปรัชญากับนักเทววิทยาก็แก้ว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์มาในฉายาของพระองค์ หมายความว่ามนุษย์มี “เสรีภาพ” ที่จะทำอะไรก็ได้ แม้พระเจ้าก็ห้ามไม่ได้ ดังนั้นถ้าใครคนหนึ่งอยากทำชั่ว พระเจ้าก็ห้ามไม่ได้ คนทำก็ต้องรับผิดชอบผลการกระทำของตัวเอง

แต่คำตอบนี้ก็ใช้ไม่ค่อยได้กับความชั่วร้ายที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่นแผ่นดินไหว เพราะไม่มีมนุษย์คนไหนจะทำให้เกิดได้ ในแง่นี้คำตอบก็คือว่า มนุษย์อย่างเราๆไม่สามารถเข้าใจจิตใจหรือแผนการของพระเจ้าได้ บางสิ่งบางอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของมันเองตามธรรมชาติ พระเจ้าสร้างโลกมาเป็นแบบนี้ มีหินเหลวร้อนอยู่ใต้เปลือกโลกแบบนี้ มีเปลือกโลกเป็นแผ่นๆเคลื่อนไหวไปตามหินเหลวข้างล่าง แล้วเปลือกโลกก็มาชนกัน มันก็ต้องเกิดแผ่นดินไหวอยู่แล้ว เมื่อมีคนมาอาศัยอยู่ตรงที่เกิดแผ่นดินไหว ก็ต้องเกิดความสูญเสียเป็นเรื่องธรรมดา พระเจ้าไม่สามารถลงมาบอกมนุษย์ล่วงหน้าได้ว่าตรงนั้นตรงนี้จะเกิดแผ่นดินไหวหรือสึนามิภายในเวลาเท่านั้นเท่านี้ เป็นเรื่องที่มนุษย์ต้องเรียนรู้กันเอง

คนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ได้นับถือศาสนาที่มีพระเจ้า ก็คิดได้ทำนองเดียวกัน คือเมื่อเกิดภัยพิบัติ ปัญหาก็คือว่าหลายต่อหลายครั้งคนที่ประสบภัยพิบัติ เขาเป็นคนดีมากๆ ไม่เคยทำบาปกรรมอะไรใหญ่โต คนที่โดนแผ่นดินไหวเสียชีวิตไป ก็มีทั้งผู้ใหญ่ คนหนุ่มสาว แล้วก็เด็ก แล้วเด็กจะไปทำบาปกรรมอะไรได้? หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องของกรรมเก่าตั้งแต่ชาติก่อน ก็คุณไปอยู่ตรงนั้น เวลานั้น ตอนที่เกิดแผ่นดินไหวพอดี ก็ต้องมีกรรมเก่าบางอย่างผลักดันคุณให้ไปอยู่ตรงนั้นใช่หรือเปล่า? ถ้าไม่ใช่กรรมชาตินี้ (เพราะคนดีๆคนบริสุทธิ์ต้องตายลงไปมากมาย) ก็ต้องเป็นชาติก่อนนั่นแหละ

สิ่งที่ชาวพุทธควรคิดก็คือว่า เรามีกรรมเก่ากันหมดทุกคนแหละครับ ไม่ใช่มีแต่ชาวเนปาลที่สูญเสียเท่านั้นที่มีกรรมเก่า มีกันหมดทุกคน เพียงแต่ว่ากรรมเก่าของแต่ละคนส่งผลออกมาคนละอย่าง เราๆที่นั่งอ่านบล๊อกนี้อยู่ ไม่แน่ว่าบางคนอาจอยู่ดีๆป่วยเป็นโรคร้าย (ไม่ได้แช่งนะครับ) บางคนอาจโชคดีถูกล็อตเตอรี่รางวัลใหญ่ เรื่องของเรื่องก็คือไม่มีใครสามารถรู้อนาคตของชีวิตของเราได้ คนเนปาลเขาก็ไม่รู้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหว เราเองก็ไม่รู้ว่าชะตาชีวิตของเรา แม้กระทั่งวันพรุ่งนี้ จะเป็นอย่างไร ดังนั้นการไปว่าเขาบอกว่าเขาทำกรรมเก่าไม่ดีเอาไว้ จึงไม่เป็นเรื่องสมควรครับ ตัวเราเองก็เหอะ เราเองก็ไม่รู้หรอกว่า ตัวเราเอง ได้ทำกรรมเก่าอะไรไว้ สิ่งที่ทำไปนั้นอาจหนักมากๆก็ได้ แล้วที่ผ่านมามันยังไม่ส่งผล แต่ก็ไม่แน่ อาจจะส่งผลพรุ่งนี้มะรืนนี้ก็ได้

ดังนั้นท่าทีที่ถูกต้องของชาวพุทธก็คือว่า เราต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท หมายความว่าเรารู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่า พรุ่งนี้เราอาจถึงแก่ความตายเอาง่ายๆก็ได้ ดังนั้นต้องดูตัวเองในเวลานี้ว่า ตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ ที่ตัวเองทำอยู่น่ะ เป็นประโยชน์แก่ตัวของตัวเองหรือแก่ผู้อื่น ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าใช้ชีวิตอย่างสบายๆ ไม่คิดว่าสิ่งร้ายๆจะเกิดแก่ตัวเอง อย่างนั้นคือประมาทแหละครับ เรื่องร้ายๆไม่มีใครหนีได้ ทุกคนต้องพบเข้าไม่วันนี้ก็วันต่อๆไปสักวัน พอคิดอย่างนี้จิตใจก็จะอยู่กับสติ การกระทำต่างๆของเราก็จะมีความหมายขึ้นมา เป็นประโยชน์แก่ตัวเราเอง

ดังนั้นอย่าไปว่าชาวเนปาลว่าเขาทำกรรมเก่ามาเลยครับ ที่เขาประสบอยู่นี่ก็หนักมากแล้ว ยังมาโดนว่าหาว่าไปทำกรรมชั่วเข้าให้อีก ในท้ายที่สุดคนที่ว่าเองนั่นแหละครับ กำลังประกอบอกุศลกรรมข้อใหญ่เข้าให้แล้ว และกำลังใช้ชีวิตอยู่ด้วยความประมาท ทางที่ดีก็คือ เราเห็นอกเห็นใจเขา เพราะเขาก็เป็นเพื่อนร่วมโลกกับเรา ถ้าเราจะช่วยเหลือทางใดทางหนึ่งได้ เราก็ควรทำ เราควรคิดกันแบบนี้มากกว่าครับ

How to Explain Karma and Rebirth?

Buddhism appears to be about the only major religion that fares quite well with modern science. After all, the Buddha himself exhorted his followers not to believe in his teachings merely he was their teacher, but to examine the teachings carefully and test them against their own understandings, reasonings and experiences. However, when it comes to the law of karma and the doctrine of rebirth, it seems to have a hard time explaining these concepts in light of modern science.

Here Buddhism appears to say the same thing as do the other religions, namely that things do not come to an abrupt end when one dies. There is a kind of afterlife. And this is the key issue regarding the relation between Buddhism and science. Buddhism may have an intricate system of cosmology and analysis of the mind and matter which could be compared to that of modern science, after all science has somethng to say about cosmology and analysis of mind and matter too. But when it comes to karma and rebirth, then modern science is competely silent. So if Buddhism is to be compatible with science, then how should karma and rebirth fit in?

One way out is to challenge sciene to come up with their own explanation of the phenomenon. That there is no scientific explanation of karma and rebirth yet is the failure of modern science, not of Buddhism, which has its own elaborate theory. This, of course, assumes that the phenomenon is real and is already there to be experienced. Many Buddhists believe that this is the case, so do followers of other related religions such as Hindus and Jains.

So instead of Buddhism having a problem of hot being able to explain karma and rebirth; it is science itself that finds itself with the problem of not being able to explain it. But how do we know that karma and rebirth are already there? Well, this doctrine is based on the idea that every event in the universe happens through causes and conditions. These are technical terms in Buddhism. A ’cause’ is that which changes to become another thing. So the seed is the cause of the oak. A ‘condition,’ on the other hand, is that which corroborates the cause’s effective becoming the result. Thus moisture is a condition without which the seed would not sprout to become the oak. There are a variety of conditions, and the intention of one who plants the seed in order to grow an oak counts as a condition too.

So our lives as human beings all arise out of causes and conditions. We see karma at work when we find that no one human being is exactly the same as others. Everyone is unique; the question is how to explain this uniqueness? I do not mean merely genetic uniqueness, since identical twins can lead very different lives, thus each of them is unique, even though their genes are identical. One twin perhaps gets richer than her sister. But why?

To look at another example. One buys a lottery and wins one million dollars, while his friend buys another lottery at the same place and at the same time but wins nothing. Here the most that science can do is just to leave the whole thing to chance. But the key idea in Buddhism (and in many others) is that there is no chance event in the universe. Everything that happens, happens because of some set of causes or conditions (Leibniz called this “The Principle of Sufficient Reason”). So there must be something that explains why this particular person won the lottery whereas nobody else did.

So karma and rebirth are a way to explain the phenomena mentioned above. Otherwise there just would be no explanation at all as to why this particular person and not another won the lottery, or why one twin got a rich husband and her sister got a so-so one.

However, believing in karma and rebirth does not mean that you are forever doomed to live within their influences with no way out. Nothing is further from the truth in Buddhism. It is true that what explains your current situation might refer back to your karmas, but that does not mean that you yourself have no free will to shape up your own causes and conditions for your future well being. Otherwise there just would not be any reason for practicing the Buddhist Teaching. There is always the cause and condition for your eventual Liberation lurking inside. It is there in all of us, all of beings in samsara. It just needs to be brought out and polished.